จู่ชงจือ (Tsu-Chung-Chih)
จู่ชงจือ (Tsu-Chung-Chih) เกิดที่เมืองเจี้ยนคาง(คือเมืองหนานจิงในปัจจุบัน) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยโบราณของจีน บรรพบรุษของเขาล้วนทำงานในด้านการวิจัยปฎิทินดาราศาสตร์ จู่ชงจือ จึงมีโอกาสได้ศึกษาความรู้ด้านคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ตั้งแต่อายุยังน้อย การคำนวณหาค่า π เป็นหัวข้อสำคัญและลำบากอย่างยิ่งในวิชาคณิตศาสตร์ในสมัยนั้น นักคณิตศาสตร์หลายคนในสมัยโบราณของจีนต่างมุ่งมั่นในการคำนวณหาค่า π โดยถือกันว่าใครคำนวณหาค่า π ได้ตำแหน่งทศนิยมละเอียดมากเท่าไร ก็ยิ่งมีความสามารถมากเท่านั้น ในราวคริสต์ศักราชที่ 464 ขณะที่จู่ชงจือมีอายุ 35 ปี เขาเริ่มลงมือคำนวณหาค่า π ก่อนสมัยของจู่ชงจือผู้คนได้รับรู้จากภาคปฏิบัติมาว่าความยาวของเส้นรอบวงมีค่าเป็น 3 เท่ากว่าของความยาวของเส้นผ่าศูนย์กลาง แต่ยืนยันไม่ได้ว่าตัวเลขที่แน่นอนคือเท่าไร
ก่อนสมัยจู่ชงจือ หลิววุยนักคณิตศาสตร์โบราณของจีนได้คำนวณค่า π ด้วยสูตรการตัดรูปวงกลมด้วยรูปหลายเหลี่ยม กล่าวคือใช้เส้นรอบรูปทั้งหมดของรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่าที่บรรจุในรูปวงกลมให้ใกล้เคียงกับเส้นรอบวงมากที่สุดก็จะเป็นความยาวของเส้นรอบวงด้วยวิธีการนี้หลิววุยสามารถคำนวณหาค่า π ได้ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 4 บนพื้นฐานของนักคณิตศาสตร์รุ่นอาวุโสจู่ชงจือได้ใช้ความพยายามอย่างขยันหมั่นเพียรในที่สุดคำนวณค่าตำแหน่งที่ 4 บนพื้นฐานของนักคณิตศาสตร์รุ่นอาวุโสจู่ชงจือได้ใช้ความพยายามอย่างขยันหมั่นเพียร
ในที่สุดคำนวณค่า π ได้อยู่ระหว่าง 3.1415926 - 3.1415927 ซึ่งนับว่าถูกต้องถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 7 แต่ไม่มีการบันทึกว่าจู่ชงจือได้ค่านี้มาด้วยสูตรอะไร แต่กว่านักคณิตศาสตร์ต่างชาติจะได้ค่า π นี้ก็เป็นเรื่องในอีก 1000 ปีให้หลังแล้วเพื่อยกย่องคุณงามความดีของจู่ชงจือนักคณิตศาสตร์บางท่านเสนอให้เรียกค่า π ว่า “ค่าจู่”
นอกจากผลงานด้านการคำนวณค่า π แล้วจู่ชงจือยังร่วมกับลูกชายของตนคำนวณปริมาตรทรงกลมด้วยวิธีการที่แยบยลล้ำเลิศ นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีกว่าจะคิดวิธีการนี้ได้ก็เป็นเวลาอีก1000ปีให้หลังชาวตะวันตกเรียกว่า "กฏคาวาเลียริ " ในวงการคณิตศาสตร์ได้เรียกกฏนี้ว่า “กฏจู่” เพื่อยกย่องคุณูปการอันใหญ่หลวงของจู่ชงจือและลูกชายของเขา
ที่มา : http://thai.cri.cn/chinaabc
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : http://thai.china.com/baike
https://www.clipmass.com/story/43393
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น