วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560

มุฮัมมัด อิบนุ มูซา อัลคุวาริซมี่ย์



          มุฮัมมัด อิบนุ มูซา อัลคุวาริซมี่ย์ (ค.ศ..780-840)เป็นนักคณิตศาสตร์ที่โดดเด่นและเป็นผู้
ประดิษฐ์พีชคณิต (วิชาที่ว่าด้วยการแก้สมการ) การเรียกวิชาพีชคณิตว่า"Algebra" ซึ่งเป็นคำที่ชาวตะวันตกนำเอาไปใช้มีที่มาจากคำภาษาอาหรับว่า อัลญับรุ้ อันเป็นชื่อตำราที่อัลคุวาริซมี่ย์ได้แต่งขึ้นเป็นคนแรก
          ตำรา "อัลญับรุ้ วัล มุกอบะละฮ์ " มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และมรดกทางวิชาการอย่างยิ่ง เพราะนักปราชญ์ชาวอาหรับได้อาศัยตำราเล่มนี้เป็นตำรามาตรฐานในการศึกษาวิชาพีชคณิต และชาวตะวันตกก็ได้รู้จักวิชาพีชคณิตจากตำราเล่มนี้ 

                   อัลคุวาริซมี่ย์                     

           นอกจากนี้ อัลคุวาริซมี่ย์ ยังเป็นนักภูมิศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียง วิธีการคำนวณคณิตศาสตร์ของเขาเป็นการสังเคราะห์ความรู้ของชาวฮินดูและกรีก และความรู้พื้นฐานที่สำคัญในด้านวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คุณูปการที่สำคัญของเขาต่อคณิตศาสตร์คือ การสร้างระบบทศนิยม (decimal system)   เขาพบว่า ตัวเลขอาหรับนั้นดีกว่าตัวเลขแบบละตินและอินเดีย ซึ่งต่อมาตรรกะของเขาก็ได้รับการยืนยันจากความนิยมของทั่วโลกที่นำตัวเลขอารบิกไปใช้ นอกจากนี้เขายังใช้เครื่องหมายลบ (-) และตัวเลขศูนย์ (0) ในการแสดงวิธีการคำนวณอีกด้วย
          ในด้านดาราศาสตร์นั้น เขาได้ทำตารางดาราศาสตร์ และการคำนวณรัศมีและเส้นรอบวงของโลก ซึ่งมีความแม่นยำอยู่ในระดับที่เรียกว่าใกล้เคียงกับการคำนวณในยุคสมัยใหม่เลยทีเดียว ตารางดาราศาสตร์ของเขาถูกนำมาใช้ต่อๆ มาอีกหลายศตวรรษ ในหลายๆ ประเทศตั้งแต่จีนไปจนถึงยุโรป

ตำรา อัลญับรุ้ วัล มุกอบะละฮ์
              
               ในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ หนังสือของเขาที่ชื่อ "Kitab Sural ul Arz" ยังถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในเยอรมันในรูปต้นฉบับที่เป็นลายมือ อีกเล่มหนึ่งคือ "Kitab Rasen ul Rubul Mamur" ซึ่งยังคงเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ได้รับความน่าเชื่อถือมาอย่างยาวนานในสาขาวิชาภูมิศาสตร์
           แนวทางการศึกษาของเขา มีความเป็นระบบและมีเหตุผล เขาไม่เพียงศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ ที่มีอยู่ในยุคนั้น โดยเฉพาะคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่ยังนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปขยายผลต่อยอดจนเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากล

ผลงาน 
        1. ฮิซาบ อัลญับริ วะ อัลมุกอบะละหฺ (การคำนวณโดยหักออกและบวกเข้ามาใหม่) มีชื่อในภาษาละตินว่า  Liber algebrae et almucabala 
        2. กิตาบ อัลญัมอิ วะ อัตตัฟรีก บิ อัลฮีซาบ อัลฮินดีย์  (หนังสือของอัลกอริตมีว่าด้วยเรื่องคณิตศาสตร์อินเดีย) ซึ่งต้นฉบับภาษาอาหรับหายไป มีฉบับแปล มีชื่อในภาษาละตินว่า Liber Algoritmi de numero Indorum ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า อัลกอริทึม (Algorithm) ที่หมายถึงขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ในตำราเล่มนี้ได้พูดถึง ระบบตัวเลข 1 ถึง 10 การใช้ทศนิยมและการใช้เลขศูนย์ 
        3. กิตาบ สูเราะหฺ อัลอัรฎิ (หนังสือรูปร่างธรณี) เป็นตำราทางภูมิศาสตร์ มีตาราง และแผนที่
        4. อิสติครอจญ์ ตารีค อัลยะฮูด (เกี่ยวกับปฏิทินยิว)
        5. กิตาบ อัตตารีค (หนังสือประวัติศาสตร์)
        6. กิตาบ อัตตารีค (หนังสือประวัติศาสตร์)
        7. อัลญัลรุ้ วัลมุกอบละฮุ (หนังสือ การแก้สมการกำลังสอง)


ที่มา  : https://th.wikipedia.org/wiki
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.komchadluek.net/news/politic
                          https://www.jw.org/th



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น